ตำนานพระนางพญา


ตำนานพระนางพญา เล่ม2










ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกรวบรวมและจดบันทึกสืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน แต่ละคนไม่มีผู้ใดทำธุรกิจซื้อขายพระเครื่องมาก่อน นับว่าเป็นตำนานบริสุทธิ ไม่แต่งเติมเสริมเนื้อหาเข้าข้างผู้ทำธุรกิจให้เช่าพระเครื่องแต่อย่างไร ข้อมูลและประวัติการสร้างพระนางพญา รวบรวมโดยบุคคลระดับอาวุโสที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แรกๆมีทั้งที่รู้มาตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง ต้องเลือกเอาเนื้อหาสาระในส่วนที่ตรงกันมากที่สุดมาวิเคราะห์ร่วมกับเหตุผลทางธรรมชาติและภาพประกอบ เพื่อแยกยุคแยกสมัยให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนมีคุณค่าแก่ผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้เป็นตำราอ้างอิงประกอบการพิสูจน์ได้ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์อักษรศาสตร์ดาราศาสตร์วิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา โบราณคดี จิตวิทยาและศิลปะ



พระนางพญาทุกองค์ในตำนานนี้ เป็นพระที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของปู่บุญที่ได้มาจากไต้ฐานพระพุทธรูปในวิหารวัดนางพญาที่พังทลายลงมา ในสมัยนั้นยังไม่มีผู้คนสนใจที่จะสะสมพระเครื่องกัน เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงให้สามเณรบุญหรือปู่บุญ ไปตามญาติพี่น้องมาช่วยกันขนไหบรรจุพระเครื่องนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านก่อน ในคราวเดียวกันนั้นมีคนสนิทกับเจ้าอาวาสหลายรายทราบเรื่อง ก็พา

กันเข้าไปขอไหพระเครื่องนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านบ้าง ทุกคนต่างพากันนำไปฝังไว้ตามท้องไร่ท้องนาของตนแล้วปลูกต้นไม้ไว้เป็นสัญลักษณ์เพื่อไม่ให้หลงลืม ไม่มีใครนำไปเก็บไว้ในบ้านเลย เนื่องจากคนในสมัยโบราณไม่นิยมที่จะนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้าน เพราะกลัวบาปและไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบ ครัว หลังจากนั้นสองปีต่อมา เจ้าอาวาสญาติสนิทของปู่บุญก็มรณภาพด้วยโรคชรา


ถึงช่วงที่ปู่บุญเติบโตเป็นหนุ่ม ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เพื่อตอบแทนบุญคุณบิดามารดาระยะหนึ่ง แล้วจึงลาสิกขาสึกออกมามีครอบครัวโดยไม่สนใจไหพระเครื่องนั้นเลย จนกระทั่งหมอบุญมี บุญไชยเดช ไปแต่งงานกับนางเขียวลูกสาวคนโตของปู่บุญ จึงมีการนำเอาไหบรรจุพระเครื่องนั้นขึ้นมาเปิดออกดูทำให้รู้ว่า ภายในไหนั้นบรรจุพระนางพญาไว้จำนวนมาก ปู่บุญได้บอกกับหมอบุญมีตลอดทั้งนางเขียวและนางหนูว่า พระเครื่องทั้งหมดนั้นเป็นพระแท้ของจริงทุกองค์ ต่อไปภายภาคหน้าจะหายากมากขึ้น เพราะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ในทางแคล้วคลาดปลอดภัยทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองร่ำรวยไวไม่มีวันตกต่ำและยากจน

พระนางพญาเป็นพระเครื่องในประวัติศาสตร์ชาติไทยนอกตำรา สร้างขึ้นจำนวนมากหลายพิมพ์หลายสีหลายขนาด ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นทางการไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีตำนานลานทองให้ศึกษายากแก่การจดจำ นอกจากหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีและข้อมูลของคนรุ่นปู่ย่าตาทวดท่านช่วยกันจดบันทึกไว้ในตำนานนี้เท่านั้น ที่จะยืนยันได้ว่าพระนางพญาแท้และไม่แท้ต่างกันอย่างไร

                จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า เดิมวัดนางพญาเป็นวัดเดียวกันกับวัดราชบูรณะ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต่อมาถึงยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ได้มีการแบ่งแยกที่ดินด้านมหาวิหาร วัดพระศรีรัตน มหาธาตุฯ ออกมาบูรณปฏิสังขรณ์เป็นวัดโดยนำความสำคัญของสตรีเจ้าผู้ครองเมืองในขณะนั้นมาตั้งเป็นชื่อวัดว่า วัดนางพญา ในสมัยโบราณจะนิยมสร้างวัดผัววัดเมียไว้คู่กันเสมอ วัดราชบูรณะ ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดผัว วัดนางพญา ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดเมียเป็นต้น






พระนางพญาสร้างจากเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ในระหว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกรานองค์พระวิสุทธิกษัตรีย์เจ้าผู้ครองเมืองในขณะนั้น  จึงได้ตรัสสั่งให้หาพระเกจิและอาจารย์ที่มีเวทย์มนต์คาถาขลังและศักดิ์ สิทธิ์ ในยุคนั้น ให้มาช่วยกันสร้างพระเครื่องแจกแก่ประชาชนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัว พระและ   เกจิอาจารย์ก็แบ่งหน้าที่กันสร้าง หลายพิมพ์ หลายสี หลายขนาดโดยยึดรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธชินราช เป็นหลัก
การทำแม่พิมพ์ ช่างก็นำการประทับนั่งขัดสมาธิ ( เพชร ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแกะเป็นพิมพ์เข่าโค้ง ๓ พิมพ์ คือ ๑ พิมพ์เข่าโค้งหวายผ่าซีก ๒ พิมพ์เข่าโค้งเส้นด้าย  ๓  พิมพ์เข่าโค้งวงพระจันทร์ และนำการประทับนั่งขัดสมาธิ ( ราบ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาแกะเป็นพิมพ์เข่าตรง ทำกันแบบรีบร้อนคือพิมพ์ได้ครั้งละ ๓ องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคา จากนั้นก็นำ ไปเผาไฟ ทำให้มวลสารด้านข้างที่เป็นเกสรดอกไม้และแร่เหล็กต่างๆถูกหลอมละลายเหลือไว้แต่รอยขรุขระยุบตัว ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบได้ เหตุผลที่ต้องใช้ตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันก็เนื่อง มาจากพระและเกจิอาจารย์ท่านต้องการตอกและตรึงเวทย์มนต์คาถาไว้ให้อยู่คู่กับพระนางพญาตลอดไปไม่ต้องการให้ ขอม หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวทย์มนต์คาถาทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านมาแกล้งทำให้เสื่อมหรือคลายความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ไปได้




















ในยุคเดียวกันนั้นมีการสร้างพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็กและอกนูนใหญ่เพิ่มขึ้นอีกสองพิมพ์ มีเอก ลักษณ์แปลกตาไม่เหมือนใคร เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญวีรกรรมและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระศรีสุริโยทัยและพระบรมดิลกพระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ชีพพร้อมพระมารดาในสงครามคราวเดียวกัน โดยมีรูปทรงแปลกตา บ่งบอกถึงสตรีเพศ อกนูนใหญ่คงหมายถึงพระศรีสุริโยทัยและอกนูนเล็กคงหมายถึงพระบรมดิลกพระราชธิดา
ดังมีเรื่องเล่าไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อครั้งที่พม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยสม เด็จพระศรีสุริโยทัยสืบเชื้อสายมาจากราชวงษ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักร พรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์สมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7  เดือน เมื่อปี พ.2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกโดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์จังหวัดกาญจนบุรีตั้งค่ายล้อมพระนครศรีอยุธยาไว้การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชสวามีจะเป็นอันตรายจนถูกพระแสงขอ ง้าวฟันพระอังสาขาดสะ พายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้างเพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติคือ วันที่ 3  กุมภาพันธ์ พ.ศ 2092
วันนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึกสมเด็จพระศรีสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอสรและพระราชธิดา 4 พระ องค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราชครั้นยกกองทัพ ออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง  กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปรซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า  ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักร พรรดิ เกิดเสียหลักหันหลังหนีจากข้าศึกพระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุ ริโยทัยทอดพระเนตรเห็น พระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ไม่สา มารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระศรีสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างของพระเจ้าแปรได้เสยช้างของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นแล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดาคือพระบรมดิลกบนช้างเชือกเดียวกัน

                เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัดขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์





พระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้สร้างจำนวนน้อย ทำให้มีผู้คนสนใจเสาะแสงหาไว้ครอบครองกันมากไม่แพ้พระนางพญาพิมพ์อื่นๆ ด้วยความจงรักภักดีที่องค์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ยอมเสียสละได้แม้กระทั่งพระชนม์ชีพ  ส่งผลทำให้จิตวิญญาณสิงสถิตอยู่ในพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็กและอกนูนใหญ่ ให้มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์โดดเด่นไปในทางส่งเสริม ให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น มีโชคมีลาภและค้าขายร่ำรวยไว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงส่งและให้คนรักภักดีตลอดไป


ต่อมาถึงยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพเป็นกษัตรีย์ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ วัดนางพญา วัดราชบูรณะ ที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้าง พร้อมทั้งสร้างพระเครื่องแจกให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาขนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัวอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุทั้ง ๓ วัด เพราะมีเขตุขันธ์สีมาติดต่อกัน





ในยุคเดียวกันนั้นองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ วัดต่างๆร่วมสร้างพระเครื่องแจกแก่ประชาชนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัวด้วย แต่ละวัดจะยึดรูปแบบพระนางพญา กรุวัดนางพญาเป็นหลัก ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดใครวัดมัน จึงเป็นที่มาของพระนางพญากรุวัดต่างๆพระนางพญาจึงไม่ใช่มีแต่เฉพาะของกรุวัดนางพญาเท่านั้น พระนางพญาที่สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมี ๓ สมัยคือ
สมัยที่ ๑ สร้างตอนสมัยที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพเป็นกษัตริย์ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา โดยนำแม่พิมพ์ในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์มาพิมพ์ใหม่อีกครั้ง พระนางพญายุคขององค์สม เด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยแรก จึงมีด้านหน้าเหมือนยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ทุกอย่าง ส่วนด้าน ข้างจะมีรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันมีทั้งในลักษณะเฉียงๆและเรียบๆคล้ายใช้ของมีคมตัด



สมัยที่ ๒ สร้างเนื่องจากศึกสงครามยังรุนแรงอยู่ ส่งผลทำให้ผู้คนสนใจอยากได้พระนางพญาเพิ่มมากขึ้น จนถึงกับไม่มีเหลือไว้บรรจุในกรุเลย พระนางพญาในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกกันว่ายุคอินโดจีน






สมัยที่ ๓ สร้างในช่วงที่สงครามเริ่มสงบ ชาวบ้านเรียกพระนางพญาสมัยนั้นว่า พระนางพญาสงบศึก ทางวัดได้นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์เล็กๆที่ตั้งอยู่เลียงรายรอบวัด มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด สีแดงอิฐ
สีตับเป็ด สีดำ และสีเขียวครกหิน หากนำเอาพระนางพญาทั้ง ๓ สมัย มาเปรียบเทียบกันจะเห็นรูปทรงองค์พระและสีของเนื้อพระแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
                ในสมัยโบราณการสร้างพระเครื่องเขาสร้างกันเพื่อแจกแก่ประชาชนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัว ไม่ใช่เพื่อการค้าหรือธุรกิจจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำตำหนิหรือเครื่องหมายใดๆไว้ที่องค์พระตำหนิ
ต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ซ้ำที่กัน การจะนำตำหนิไม่ซ้ำที่กันมากำหนดเป็นมาตรฐานตายตัวว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้นั้นเชื่อถือไม่ได้ เมื่อใดที่ได้เห็นพระนางพญาอย่าเพิ่งรีบด่วนสรุปว่า เป็นพระเก๊  พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึง ควรดูให้แน่ใจเสียก่อนว่า เป็นพระนางพญากรุไหนวัดไหนใครสร้าง ดินเผาเก่าหรือดินเผาใหม่กันแน่
                การดูรูปทรงขององค์พระและตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใด  จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสินว่า เป็นพระแท้หรือไม่แท้  เพราะพระในแม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์นั้น ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว  ถึงจะแกะออกมาจากแม่ พิมพ์เดียวกัน โดยบุคคลคนเดียวกันก็ไม่เหมือนกัน การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคล หลายคน จะมีตำหนิเหมือนกันที่เดียวกันทุกองค์ย่อมเป็นไปไม่ได้ หากมีใครมาชี้ตำหนิในพระนางพญาให้ดู ก็รู้ไว้เลยว่าบุคคลคนนั้นดูพระเครื่องไม่เป็น เพราะตำหนิที่ปรากฏอยู่ทั่วองค์พระจะไม่ซ้ำที่กันเลย การจะนำ
ตำหนิไม่ซ้ำที่กันมายืนยันว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้นั้นรับไม่ได้และไม่เห็นด้วย                     
                ปกตินักสะสมของเก่าทั่วไปจะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมๆจะไม่ไปล้างหรือทำลายหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นพระเครื่องก็ยิ่งจะต้องรัก ษาสภาพความเก่าแก่ทางธรรมชาติไว้เป็นหลักฐานในการสร้างไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปล้างหรือทำลายทิ้ง 

การดูสีพระนางพญาถือเป็นไม้ตายในการดูพระนางพญากรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์วิธีหนึ่ง พระและครูบาอาจารย์ตลอดทั้งคนเฒ่าคนแก่ท่านบอกไว้ว่า เขาทำไว้เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ ว่าพระนางพญาองค์ไหนผสมมวลสารอะไรลงไปในเนื้อพระพิมพ์ต่างๆนั้นบ้างพระนางพญาแต่ละสีแต่ละพิมพ์นอกจากจะผสมมวลสารหลักๆลงไปแล้ว ยังได้ผสมมวลสารส่วนตัวของพระเก จิอาจารย์ที่มาร่วมสร้างและปลุกเสก เพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ลงไปด้วย อย่างเช่นผงอิทธิเจ  ผงปัดตลอด ผงมหาอุด  ผงสาลิกาป้อนเหยื่อ  ผงพญาเต่าเรือน  ผงมงคลจักรวาล  ผงพระเจ้าห้าพระองค์  ผงอิติปิโสธงชัยและผงอื่นอีกมาก พระและครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณ ท่านมีเวทย์มนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธ์ สามารถทำให้พิสูจน์เป็นรูปธรรมได้ทุกองค์ในสมัยนั้นแค่คนเห็นสีของพระนางพญา คนก็รู้กันแล้วว่าพระนางพญาองค์นั้นมีคุณวิเศษโดดเด่นดีทางไหน พระและเกจิอาจารย์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสกและผสมมวลสารอะไร ลงไปในเนื้อพระพิมพ์ต่างๆนั้นบ้าง พระนางพญาแต่ละพิมพ์แต่ละสีแต่ละยุคสมัยมีความสำคัญบอกให้รู้ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี









สีเม็ดมะขาม สีครกหิน ดีในทางทำให้มีพลังอำนาจน่าเกรงขามแก่บริวารและผู้คนที่พบเห็นทั่วไปเหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเป็นเจ้าคนนายคนและมีตำแหน่งหน้าที่การงานก้าวหน้าไว สีหัวไพรแห้ง สีดอกพิกุลแห้ง สีดอกจำปี ดีทางค้าขาย ดีทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ดีทางโชคลาภ สีเขียวครกหิน สีเขียวตา กบ ดีทางหลักทรัพย์ ช่วยให้มีความเจริญรุ่งเรือง ชนะอุปสรรค ชนะศัตรู ชนะคู่แข่ง ชนะคดีความ  สีสิลาแลง สีแดงอิฐ สีขมิ้นชัน สีตับเป็ด ดีทางโชคลาภ ตลอดทั้งเมตตามหานิยม ร่ำรวยไวดังใจปารถนาและแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุและอันตรายต่างๆได้


ถึงตรงนี้ คงจะหายสงสัยกันไปแล้วว่าทำไมพระนางพญาจึงมีหลายสีด้วยเหตุดังกล่าวนักสะสมพระเครื่องรุ่นปู่ย่าตาทวด จึงไม่สนับสนุนให้ล้างและทำลายหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าพบว่าพระเครื่ององค์ไหนผ่านการล้างหรือตกแต่งมาแล้ว ท่านจะถือว่าเป็นพระเก๊พระปลอมหมดท่านให้เหตุผลว่า ถ้าคิดจะเป็นนักสะสมของเก่า แล้วจะไปล้างและตกแต่งใหม่ทำไม สิ่งสำคัญพระนางพญาแต่ละสีแต่ละพิมพ์มีมวลสารพิเศษไม่เหมือนกันอยู่แล้ว หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พระนางพญามีสีเสมอเหมือนกันทั่วทั้งองค์ ไม่ดำครึ่งแดงครึ่งเหมือนเผากุ้งเผาปลา ส่วนราเขียวราดำและคราบขี้ตะไคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระนั้น เกิดทับซ้อนขึ้นมาตามธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีในภายหลัง ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบธรรมชาติได้     
ขั้นตอนการผสมเนื้อพระนางพญาจะเริ่มต้นด้วยการนำดินไปผสมน้ำสีที่ทำด้วยเปลือกและดอกไม้
มงคลต่างๆแล้วตำจนดินเหนียวหนึบได้ที่ ต่อจากนั้นก็นำดินที่ผสมแล้วไป ( กด ) ลงในแม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ จากนั้นก็เอาพระไปตากแดดจนแห้งแล้วนำไปบรรจุไว้ใน ( ไห ) โดยมีแกลบ มีขี้เลื่อย มีหญ้าคาสับละเอียดลองรับ ไม่ให้องค์พระเบียดเสียดกันจนเกิดการแตกหักเสียหาย ขั้นตอนสุดท้ายก็นำไปเผาไฟทั้งไห การนำพระเครื่องไปเผาไฟทั้งไห  ก็เพื่อให้สีของเนื้อพระเป็นสีเดียวกันทั่วทั้งองค์ ไม่ดำครึ่งแดงครึ่งเหมือนเผากุ้งเผาปลา สีที่กำหนดไว้มีดังนี้คือ  สีเม็ดมะขาม  สีครกหิน สีหัวไพรแห้ง  สีดอกพิกุลแห้ง  สีดอกจำปี สีขมิ้น ชัน  สีเขียวครกหิน สีเขียวตากบ สีแดงอิฐ  สีตับเป็ด สีสิลาแลง
หากสังเกตให้ดีๆจะเห็นว่าพระนางพญามีสีเสมอเหมือนกันทั่วทั้งองค์ ไม่ดำครึ่งแดงครึ่งหากไปพบ เห็นพระนางพญาองค์ไหนไม่มีสีดังตัวอย่างที่นำมาให้ชมนี้ก็รู้ไว้ว่าไม่ใช่พระนางพญากรุวัดนางพญาจังหวัด พิษณุโลกที่สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์แน่นอน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นต้นเหตุทำให้มีคนนำพระเก๊พระปลอมไปล้างและทำลายหลักฐานในการสร้างทิ้งไป การดูพระนางพญาของแท้แค่เอาผ้าแห้งเช็ดเบาๆก็ขึ้นเงาแล้ว ไม่ต้องไปขัดถูหรือเอาน้ำมันอะไรไปทาให้ขึ้นเงาเกินจริง โดยเฉพาะเนื้อพระต้องแข็งและแกร่งเหมือนหินหรือฟ๊อสซิล ( Fossil )

ส่วนสีของพระนางพญาที่สร้างในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่มีอะไรซับซ้อนมีแค่สีแดงอิฐ สีเขียวครกหิน สีดำ สีตับเป็ด สีหัวไพรแห้ง เนื้อหยาบและเนื้อละเอียดเท่านั้น จากนั้นจึงไปดูสีของเนื้อดินที่สร้างว่าเป็นดินยุคไหน ปกติดินแต่ละยุคแต่ละสมัยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ถึงแม้จะไปนำดินในที่เดียวกันกับดินที่สร้างพระเครื่องเมื่อหลายร้อยปีมาสร้างใหม่อีกครั้ง ดินก็แตกต่างกันไปแล้วฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีได้ ดังนั้นการจะดูพระเครื่องเนื้อดินเผาว่าเก่าหรือใหม่ก็ดูได้จากดินที่นำมาสร้าง ว่าเป็นดินในยุคใดสมัยไหน ถ้าเป็นดินในยุคกรุงศรีอยุธยาก็พอเชื่อได้ว่าเป็นพระแท้ของจริงเนื่องจากยังอยู่ในยุคที่ยังไม่มีการซื้อขายและทำปลอมกัน แต่ถ้าเป็นดินหลังยุคกรุงศรีอยุธยาเรื่อยลงมาถึงยุคปัจจุบัน ถือว่าเป็นพระใหม่ไม่ใช่พระนางพญากรุวัดนางพญาจัง หวัดพิษณุโลกแน่นอน


พระนางพญาเป็นพระเครื่องที่ผ่านศึกสงครามมาแล้วโชกโชนดังมีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ในสมัยขององค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น ประสบการณ์ต่อมาคือ เมื่อครั้งที่ทหารไทยไปร่วมรบในสงครามอินโดจีน ทหารไทยถูกยิงล้มลงแล้วลุกขึ้น มาต่อสู้ใหม่เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมารู้ทีหลังว่าทหารไทยมีพระนางพญาแขวนสร้อยห้อยคอติดตัวกันไปทั้งนั้นทำให้ปืนยิงไม่ถูกที่ยิงถูกไม่เข้า ทหารฝ่ายตรงข้ามเข้าใจไปว่าทหารไทยเป็นทหารผีฆ่าไม่ตายเป็นที่ร่ำลือกันไปทั่วว่า พระนางพญาเป็นพระเครื่องที่มีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยชีวิตทหารให้รอดตายมาได้ราวปาฏิหาริย์ อีกประสบการณ์หนึ่งคือ  ทำให้คนจีนฐานะยากจน ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยไว กลายเป็นพ่อค้าและนักธุรกิจติดอันดับเศรษฐีและเจ้าสัวใหญ่มาถึงทุกวันนี้ ทางด้านเมตตามหานิยมก็โดดเด่นช่วยทำให้คนมีเสน่ห์เมตตามหานิยมตลอดทั้งจงรักภักดีและสนับสนุนให้เป็นใหญ่เป็นโตมาแล้วมาก มาย อีกประสบการณ์หนึ่งคือช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายต่างๆได้เป็นอย่างดี


ทุกครั้งที่เสร็จศึกสงคราม ทหารและประชาชนที่ได้รับแจกพระเครื่องจากวัดต่างๆไปป้องกันตัวต่าง ก็พากันนำกลับไปคืนวัดหมด ใครอยู่ใกล้วัดไหนก็นำกลับไปคืนวัดนั้น โดยไม่เจาะจงว่าตอนรับจะไปรับมาจากวัดไหน ส่งผลทำให้พระนางพญาและพระเครื่องวัดอื่นๆถูกบรรจุรวมกันอยู่ในกรุเดียวกันอย่างถาวรจนคนรุ่นหลังๆเข้าใจไปว่าพระนางพญาของจริงได้สูญหายจากโลกนี้ไปหมดแล้ว จนกระทั่งสถูปเจดีย์และพระพระพุทธรูปทรุดโทรมพังทลายลงมาเอง เรียกกันว่ากรุแตก พระนางพญาแท้ของจริงที่นำเอาออกมาจากกรุแตก กลายเป็นพระแปลกตาเนื่องจากผู้คนทั่วไปไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนัก สงผลทำให้นักสะสมรุ่นใหม่ถอดใจไม่เชื่อว่าพระนางพญาแท้ของจริงจะยังมีเหลืออยู่ในโลกนี้อีก ต่างกลัวจะเป็นพระปลอม ทั้งๆที่พระแท้ของจริงยังมีอยู่กับชาวบ้านในต่างจังหวัดอีกมากมาย บุคคลดังกล่าวเป็นคนเฒ่าคนแก่หัวโบราณไม่สนใจ
ที่จะส่งพระเครื่องใดๆเข้าประกวด และไม่ได้สนใจใบการันตรีของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะท่านมั่นใจในการปลุกเสกเดี่ยวของพระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ถึงขั้นพิสูจน์ได้มาแล้ว
                ดูตามประวัติในสมัยทวารวดี สมัยอู่ทอง สมัยกรุงศรีอยุธยา ยังไม่มีการซื้อขายหรือให้เช่าพระเครื่อง กัน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำปลอมกันขึ้นมาเพิ่งจะเริ่มมีการซื้อขายตลอดทั้งลักขโมยขุดเจาะพระพุทธ รูปหรือสถูปเจดีย์เพื่อค้นหาพระเครื่องและทำปลอมกันขึ้นมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง จึงยืนยันได้ว่าพระเครื่องในชุดเบญจภาคี ไม่มีพระเก๊พระปลอมแน่นอน จะปลอมกันไปทำไม จะปลอมไปขายใคร  สมัยโบราณแจกฟรีคนยังนำกลับไปคืนวัดหมด ถึงจะมีการทำปลอมกันขึ้นมาใหม่ในภายหลังก็ยังมีร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีอย่างเช่นคราบขี้ตะไคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้น ที่ตกผลึกฟังลึกลงไปในเนื้อพระไว้ให้พิสูจน์ได้

ความแตกต่างระหว่างพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุต่ำกว่าพื้นดินกับพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเหนือพื้นดินจะมีข้อแตกต่างให้สังเกตได้ดังนี้คือ พระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุต่ำกว่าพื้นดินจะมีคราบขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระส่วนพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเหนือพื้นดินจะไม่มีไอน้ำหรือความชื้นใดๆเข้าไปทำให้เกิดขี้ตะใคร่และราเขียวราดำได้ สภาพของพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเหนือพื้นดินกับต่ำกว่าพื้นดินจึงมีข้อแตกต่างๆให้เห็นได้ชัดเจน 



การดูพระเครื่องเนื้อดินเผาว่าแท้หรือไม่แท้ ควรให้ความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานาน นับร้อยปีการันตี ดีกว่าให้เด็กรุ่นลูกรุ่นหลานการันตีให้ เด็กรุ่นลูกรุ่นหลานเกิดไม่ทัน จะไปเอาความรู้และประสบการณ์จากไหนมาการันตี ในเมื่อพระนางพญาเป็นพระเครื่องในประวัติศาสตร์ชาติไทยนอกตำรา ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นทางการ ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีตำนานลานทองให้ศึกษา ยากแก่การจด จำ นอกจากหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปี ที่คนรุ่นปู่ย่าตาทวดท่านช่วย กันจดบันทึกไว้ในตำนานนี้เท่านั้น ที่จะยืนยันได้ว่าพระนางพญาแท้และไม่แท้ต่างกันอย่างไร

อาจมีบางท่านตั้งข้อสงสัยกันว่า เวลามีศึกสงครามทำไมไม่รื้อหรือขุดเอาพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุออกมาแจกแก่ประชาชนและทหารที่ออกรบไว้ป้องกันตัวอีก เนื่องจากคนในสมัยโบราณถือกันว่าการทุบทำ ลายสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปนั้นเป็นบาปที่ใหญ่หลวง ปัจจุบันผิดกฎหมาย จึงไม่มีการขุดหรือทำลายสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปเพื่อค้นหาพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุออกมาใช้กัน สิ่งสำคัญคนในสมัยโบราณไม่นิยมที่จะนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้านเพราะกลัวบาปและไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
ปัญหาที่พบบ่อยคือ เวลามีคนนำพระเครื่องในชุดเบญจภาคีมาให้ดูมักจะได้ยินคนพูดว่า พระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึงตามมาทุกครั้ง ไม่มีใครอธิบายให้ชัดเจนว่า พระเก๊ ( เก๊ยุคไหน ) พระปลอม ( ปลอมยุคไหน ) พระผิดพิมพ์ ( ผิดพิมพ์ของใคร ) อายุการสร้างไม่ถึง ( อายุพระหรืออายุคนพูดไม่ทราบเหมือนกัน )
ส่วนมากคนจะยึดติดอยู่กับคำพูดของคนที่อ้างตัวเป็นเซียน อย่างเช่นเซียนพูดว่าพระเก๊ คนก็เชื่อว่าพระเก๊ แต่ถ้าเซียนพูดว่าพระแท้ คนก็เชื่อว่าพระแท้ตามกันไป สรุปว่าดูพระด้วยหูไม่ได้ดูพระด้วยตา เซียนพูดอะไรก็เชื่อตามเซียนไปหมด โดยไม่ได้สนใจว่าเซียนนั้นอายุเท่าไหร่ ไปเอาความรู้และประสบการณ์มาจากไหน อาศัยการฟังคนพูดต่อๆกันมาก็ตั้งตัวเป็นเซียนกันไปแล้ว ส่งผลทำให้พ่อค้านักธุรกิจตำรวจทหารและนักการเมืองแขวนสร้อยห้อยพระเก๊กันไว้เต็มคอ
เคยมีนายทหารนอกราชการมาเล่าให้ฟังว่า เขาเคยหลงเชื่อว่าพระแท้ของจริงจะต้องผ่านการประ กวดและมีใบการันตีรับรอง ถ้าไม่เคยส่งพระเข้าประกวดหรือไม่มีใบการันตีรับรองถือว่าเป็นพระเก๊พระปลอมหมด จึงได้ส่งพระเข้าประกวดบ้าง สนามแรกได้รับรางวัลพร้อมใบการันตี หลังจากนั้นก็นำพระองค์เดียวกันนั้นไปส่งเข้าประกวดอีกสนามหนึ่ง ผลปรากฏว่าเป็นพระเก๊พระปลอมไม่ได้รับรางวัลใดเลย ทำให้สงสัยว่ามาตรฐานของการประกวดและใบการันตีนั้นอยู่ตรงไหน อยู่ที่พวกใครพวกมันหรือเปล่า

ในตำนานนี้ มีภาพประกอบขยายใหญ่ให้เห็นเนื้อพระและมวลสารในสภาพเดิมๆสีสันเหมือนจริงทุกมุมมองประวัติการสร้างถูกต้องโดยมีความเก่าแก่ทางธรรมชาติอยู่เหนือคำอธิบาย คำตอบสุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ว่า ( อย่าประมาท ) เป็นแรงบันดาลใจให้พ่อค้านักธุรกิจทหารตำรวจและนักการ เมือง เข้าใจในสัจธรรมว่าอะไรๆก็เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เงินทองเป็นของนอกกายไม่ตายยังหาได้อีก จึงหาทางป้องกันตัวด้วยการหาพระนางพญามาบูชาติดตัวกันด้วยความมั่นใจและศรัทธาในปลุกเสกเดี่ยวของพระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์จริงมาถึงทุกวันนี้

















    พิพิธภัณฑ์ พระนางพญา กรุวัดนางพญา    

          แหล่งเรียนรู้ประวัติและการสร้างพระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก



สนใจเชิญชมและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระนางพญาในตำนานนี้ได้ที่ ( พิพิธภัณฑ์พระนางพญา ) 
ภายใน มูลนิธิธรรมบันดาล 499/18  หมู่บ้านเฟื่องฟ้า  แฮปปี้แลนด์  คลองจั่น  บางกะปิ  กรุงเทพฯ 10240

   083-234-7117 , 080-301-1155 , 089-511-5533   

    Facebook ) พิพิธภัณฑ์พระนางพญา  หรือ ตำนานพระนางพญา.COM